เพิ่มเติม


เพิ่มเติม

มหาชาติ เป็นชาติที่ยิ่งใหญ่ของพระโพธิสัตว์ที่ได้เสวยพระชาติเป็นพระเวสสันดรและเป็นพระชาติสุดท้ายก่อนจะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสมพุทธเจ้า คนไทยรู้จักและคุ้นเคยกับมหาชาติมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ดังที่ปรากฏหลักฐานในจารึกนครชุม และในสมัยอยุธยาก็ได้มีการแต่งและสวดมหาชาติคำหลวงในวันธรรมสวนะ ส่วนการเทศน์มหาชาติเป็นประเพณีที่สำคัญในทุกท้องถิ่น และมีความเชื่อกันสืบมาว่า การฟังเทศน์มหาชาติจบภายในวันเดียว จะได้รับอานิสงส์มาก

ทศบารมีในมหาชาติ

ทานบารมี ทรงบริจาคทรัพย์สิน ช้าง ม้า ราชรถ พระกุมารทั้งสองและพระมเหสี
ศีลบารมี ทรงรักษาศีลอย่างเคร่งครัดระหว่างทรงผนวชอยู่ ณ เขาวงกต
เนกขัมมบารมี ทรงครองเพศบรรพชิตตลอดเวลาที่ประทับ ณ เขาวงกต
ปัญญาบารมี ทรงบำเพ็ญภาวนามัยปัญญาตลอดเวลาที่ทรงผนวช
วิริยาบารมี ทรงปฏิบัติมิได้ย่อหย่อน
สัจจบารมี ทรงลั่นพระวาจายกกุมารให้ชูชก เมื่อพระกุมารหลบหนีก็ทรงติดตามให้
ขันติบารมี ทรงอดทนต่อความยากลำบากต่าง ๆ ขณะที่เดินทางมายังเขาวงกต และตลอดเวลา ที่ประทับ ณ ที่นั่น แม้แต่ตอนที่ทอดพระเนตรเห็นชูชกเฆี่ยนตีพระกุมารอย่างทารุณพระองค์ก็ทรงข่มพระทัยไว้ได้
เมตตาบารมี เมื่อพราหมณ์เมืองกลิงคราษฎร์ มาทูลขอช้างปัจจัยนาค เนื่องจากเมืองกลิงคราษฎร์ฝนแล้ง ก็ทรงพระเมตตตาประทานให้ และเมื่อชูชกมาทูลขอสองกุมาร อ้างว่าตนได้รับความลำบากต่าง ๆ พระองค์ก็มีเมตตาประทานให้ด้วย
อุเบกขาบารมี เมื่อทรงเห็นสองกุมารถูกชูชกเฆี่ยนตี วิงวอนให้พระองค์ช่วยเหลือ ทรงบำเพ็ญอุเบกขา คือทรงวางเฉย เพราะทรงเห็นว่าได้ประทานเป็นสิทธิ์ขาดแก่ชูชกไปแล้ว
อธิษฐานบารมี คือทรงตั้งมั่นที่จะบำเพ็ญบารมีเพื่อให้สำเร็จโพธิญาณาเบื้องหน้าก็มิได้ทรงย่อท้อ จนพระอินทร์ต้องประทานความช่วยเหลือต่าง ๆ เพราะพระทัยอันแน่วแน่ของพระองค์

การกลับชาติมาเกิดของบุคคลในมหาชาติ

พระเวสสันดร กลับชาติมาเกิดเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ

พระเจ้ากรุงสญชัย กลับชาติมาเกิดเป็นพระเจ้าสุทโทนะ

พระนางผุสดี กลับมาเกิดเป็นพระนางสิริมหามายา

พระนางมัทรี กลับชาติมาเกิดเป็นพระนางยโสธราพิมพา

พระชาลี กลับชาตมาเกิดเป็นพระราหุล

พระกัณหา กลับชาติมาเกิดเป็นนางอุบลวรรณาเถรี

ชูชก กลับชาติมาเกิดเป็นเทวทัต

นางอมิตตดา กลับชาติมาเกิดเป็นพระนางจิญจมาณวิกา

พระอจุตฤๅษี กลับชาติมาเกิดป็นพระสาลีบุตร

พรานเจตบุตร กลับชาติมาเกิดเป็นพระฉันนเถระ

พระเสสุกรรม กลับชาตมาเกิดเป็นพระโมคคลลานะ



เครื่องกัณฑ์เทศน์

คือ ของที่ใส่ในกระจาดเป็นเครื่องกัณฑ์ที่มีขนมต่างๆ อาหารแห้ง เช่น ข้าวสาร ปลาแห้ง เนื้อเค็ม และส้มสุกลูกไม้ตามแต่จะหาได้ มักมี กล้วยทั้งเครือ มะพร้าวทั้งละลาย และอ้อยทั้งต้นตามคตินิยมว่าเป็นของป่า ดังที่มีในป่าวงกต

เครื่องกัณฑ์ที่ถือว่าถูกแบบแผน ปรากฏในเรื่อง ประเพณีเทศน์มหาชาติ ของกรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ มีความตอนหนึ่งว่า

เครื่องกัณฑ์นั้นมักมีเครื่องสรรพาหาร ผลไม้กับวัตถุปัจจัย คือ เงินตราเรานี่ดีๆและผ้าไตรอันนี้เป็นธรรมเนียมไม่ใครขาด ที่มีเครื่องบริขารอื่นต่างๆ เพิ่มเติมอีกด้วยก็มีมาก บริขารสำหรับมหาชาติที่ถือว่าถูกแบบแผนนั้นมักจัดเป็นจตุปัจจัย คือ ผ้าไตรนั้นอนุโลมเป็นตัวจีวรปัจจัย สรรพาหาร ผลไม้ อนุโลมในเสนะสนะปัจจัย เสื่อสาดอาสนะ และไม้กวาด เลื่อย สิ่ว ขวาน อนุโลมในบิณฑบาตปัจจัย ยา และเครื่องยาต่างๆ น้ำผึ้ง น้ำตาล อนุโลมในคิลานปัจจัยบริขาร

ส่วนวัตถุปัจจัยได้แก่ เงินเหรียญติดเทียนซึ่งปักบนเชิงรองพานตั้งไว้ หากมีผู้บริจาคเงินเป็นธนบัตรก็ใช้ไม้เล็กๆ คีบธนบัตรปักลงที่เทียนอีกทีหนึ่ง นอกจากนี้ก็ต้องจัดเตรียมเครื่องบูชากัณฑ์เทศน์มีเทียนประจำกัณฑ์เล่มหนึ่งขนาดใหญ่ พอจุดได้ตลอดเทศน์จบกัณฑ์ ปักไว้ข้างอาสนะสงฆ์ เมื่อพระขึ้นธรรมมาสน์ จ้าของกัณฑ์จะยกเครื่องกัณฑ์ขึ้นตั้ง กราบพระผู้จะแสดงเทศนาแล้วจึงจุดเทียนประจำกัณฑ์นี้เครื่องบูชาอื่นๆที่เว้นไม่ได้ก็มีฉัตรธงรูปชายธง ธูปเทียนพระคาถา ดอกไม้อย่างละพัน เท่าจำนวนพระคาถาที่ทั้งเรื่อง มีจำนวนหนึ่งพันคาถา มีผ้าเขียนภาพระบายสีหรือปักด้วยไหมเป็นรูปภาพประจำกัณฑ์ทั้ง ๑๓ กัณฑ์ ที่เรียกว่า ผ้าพระบฎหรือ ภาพพระบฎมีพานหมากหมาก หรือขันใส่หมากพลูไส้ถวายพระด้วย พานหมากหรือขันใส่หมากนี้ บางแห่งก็ประดับประดาสวยงามเรียกว่า หมากพนมคือเอาพานแว่นฟ้า๒ชั้น ใส่หมากพลูจัดเป็นรูปพุ่มประดับด้วยฟักทอง มะละกอ เครื่องสดแกะสลักประดับด้วยดอกไม้สดก็มีบ้าง สำหรับเทียนพระคาถาพันหนึ่งนั้นจะแบ่งปักบนปากขันสาคร ทำน้ำมนต์เท่าจำนวนพระคาถาของแต่ละกัณฑ์มหาชาติทั้งสิบสามกัณฑ์มีจำนวนพระคาถาตามลำดับคือ

) กัณฑ์ทศพร ๑๙ พระคาถา
) กัณฑ์หิมพานต์ ๑๓๔ พระคาถา
) กัณฑ์ทานกัณฑ์ ๒๐๙ พระคาถา
) กัณฑ์วนปเวสน์ ๕๗ พระคาถา
) กัณฑ์ชูชก ๗๙ พระคาถา
) กัณฑ์จุลพล ๓๕ พระคาถา
) กัณฑ์มหาพน ๘๐ พระคาถา
) กัณฑ์กุมาร ๑๐๑ พระคาถา
) กัณฑ์มัทรี ๙๐ พระคาถา
๑๐) กัณฑ์สักกบรรพ ๔๓ พระคาถา

๑๑) กัณฑ์มหาราช ๖๙ พระคาถา
๑๒) กัณฑ์ฉกษัตริย์ ๓๖ พระคาถา
๑๓) กัณฑ์นครกัณฑ์ ๔๘ พระคาถา


ถ้าพระสงฆ์จะเทศน์กัณฑ์ทศพรก็จุดเทียนพระคาถา ๑๙เล่ม กัณฑ์หิมพานต์ก็จุดเทียนพระคาถา ๑๓๔เล่มฯลฯ